หญิงไทยคนแรกที่ได้ไปอวกาศ ปี2558นี้

พิรดา เตชะวิจิตร์ นักบินอวกาศ คนแรกของประเทศไทย

ในวัยเด็กอาจมีใครหลายคนใฝ่ฝันว่าอยากจะท่องไปในอวกาศ แต่ไม่เคยมีคนไทยคนไหนสามารถไปถึงฝันนั้นได้เลย ตอนนี้มีคนที่สามารถทำความฝันของคนไทยหลายคนให้เป็นจริงได้แล้ว เธอเป็นนักบินอวกาศคนไทยคนแรกที่จะได้บินไปท่องในอวกาศ มาดูกันดีกว่าคะว่าเธอบินไปถึงฝันได้อย่างไร

UploadImage

พิรดา เตชะวิจิตร์ หรือ มิ้งค์ เป็นวิศวกรดาวเทียมของสำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ องค์กรมหาชน (GISTDA)  เธอได้ก้าวไปยังในที่ที่คนไทยไม่เคยก้าวไปถึง เป็น 1 ใน 3 ผู้ชนะการแข่งขันในโครงการ Axe’s Apollo Space Academe โครงการที่เฟ้นหาคนไทยไปอวกาศ เธอเป็นผู้หญิงคนเดียวที่ผ่านการทดสอบนี้ อีกทั้งจะต้องฝึกซ้อมร่างกายและจิตใจให้พร้อมก่อนจะเดินทางไปท่องอวกาศจริงในปีหน้า (ปี 2558) บนยาน Lynx Mark II พร้อมกับเพื่อนร่วมเดินทางคือ Buzz Aldrin ผู้ที่ไปเหยียบดวงจันทร์เป็นคนที่ 2 และ ผู้โชคดีอีก 2 คน จากผู้เข้าแข่งขัน 107 คนทั่วโลก เธอบอกว่าหัวใจของความสำเร็จในครั้งนี้มาจากการตัดสินใจที่แน่วแน่ และแรงบันดาลใจที่ต้องทำฝัน

UploadImage

ความฝันไม่ว่าจะเป็นฝันแบบไหน ใครก็สามารถทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้ ขอเพียงแค่คุณกล้าที่จะลงมือทำ ทุ่มเท ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค และที่สำคัญไม่คิดที่จะละทิ้งมัน ฝันนั้นก็สามารถเป็นจริงขึ้นมาได้  ที่สำคัญ “ค้นหาตัวเอง” ให้เจอก่อนนะคะ สู้ๆ ค่ะ

ขอบคุณข้อมูล และ ภาพ จาก
http://bangkok.coconuts.co/2014/02/06/29-year-old-engineer-be-first-thai-enter-space-next-year

พลอากาศโท สุทธิพงษ์ อินทรียงค์ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศฝ่ายยุทธการ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ในโอกาสที่ กองทัพอากาศสนับสนุนกิจกรรมโครงการค้นหาคนไทยคนแรกไปอวกาศ “แอ๊กซ์ อพอลโล” ในการเตรียมความพร้อมของตัวแทนจากประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ณ สถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศ

กองทัพอากาศ ร่วมสนับสนุนกิจกรรมโครงการค้นหาคนไทยคนแรกไปอวกาศ “แอ๊กซ์ อพอลโล” ซึ่งบริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย เป็นผู้จัด ทั้งนี้ ตัวแทนประเทศไทยที่ได้รับการคัดเลือก จำนวน ๓ คน จะเดินทางไปเข้าร่วมกิจกรรม AXE Global Space Camp ณ รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ร่วมกับผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจากประเทศต่างๆ ๘๐ ชาติทั่วโลก ซึ่งผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน ๒๒ คน จะได้ทำการขึ้นบินกับเครื่องบินแบบ SXC-001 ของบริษัท สเปซ เอ็กซ์พอดิชั่น คอร์เปอเรชั่น ขึ้นสู่อวกาศความสูง ๖๐ กิโลเมตร ทั้งนี้ ตัวแทนจากประเทศต่างๆ จะต้องเข้าทำการทดสอบตามขั้นตอนที่กำหนด เพื่อคัดเลือกผู้ที่ผ่านเกณฑ์เพื่อขึ้นสัมผัสอวกาศ โดยต้องเข้าทดสอบ อาทิ ภารกิจ G-Centrifuge โดยการทดลองกับ Simulator ในสภาวะขึ้นสู่อวกาศจริง ภายใต้แรงโน้มถ่วง 4.5G, ภารกิจ Jet Fighter Flight โดยการขึ้นบินทำการผาดแผลงจริงกับเครื่องบินความเร็วเหนือเสียง และภารกิจ Zero G Flight โดยการทดลองขึ้นทำการบินจริงกับเครื่องบินสมรรถนะสูงในระยะสูงที่เป็นสภาพไร้แรงโน้มถ่วง

ทั้งนี้ กองทัพอากาศ ได้ร่วมกับ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และบริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย ให้การสนับสนุนการเตรียมความพร้อมของร่างกายและจิตใจของผู้แทนประเทศไทย จำนวน ๑๐ คน (ตัวจริงและตัวสำรอง) ในครั้งนี้ โดยได้จัดให้มีการฝึกทดสอบต่าง ๆ อาทิ การอบรมวิชาการด้านสรีรวิทยาการบิน เวชศาสตร์การบิน การตรวจร่างกายและทดสอบทักษะการบิน จิตวิทยาการบิน การฝึกการปฏิบัติภายในห้องปรับบรรยายกาศความดันต่ำ การฝึกจำลองการหลงสภาพอากาศ (Gyro Lab) และเครื่องฝึกการดีดตัวจากอากาศยาน (Ejection Seat) ณ สถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศ

นอกจากนี้ กองทัพอากาศ ยังได้สนับสนุนเครื่องบินฝึกแบบที่ ๑๙ (PC-9) เพื่อให้ผู้เข้าทดสอบที่ผ่านการคัดเลือกเป็นตัวจริง ๓ คน ได้มีทักษะทางการบิน โดยร่วมสังเกตการณ์การบินกับเครื่องบินฝึกดังกล่าว ณ โรงเรียนการบิน เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ โดยมี พลอากาศตรี ชาญฤทธิ์ พลิกานนท์ ผู้บัญชาการโรงเรียนการบิน ให้การต้อนรับ โดยกิจกรรมครั้งนี้ จะได้มีการนำออกเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์และสื่อต่าง ๆ ต่อไป ซึ่งนับว่า กองทัพอากาศ ได้สนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถและการศึกษา ในการเรียนรู้ด้านการบินและอวกาศของเยาวชน

ที่มา https://www.facebook.com/RtafRecruitment

ใส่ความเห็น